การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
ศึกษาลักษณะการปกครองของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เพื่อเป็นแนวทางทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการปกครองของประเทศ
ไทยในปัจจุบันที่นำลักษณะการปกครองของประเทศต่างๆ เข้ามาปรับปรุงในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540)
การปกครองประเทศอังกฤษ : ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในรูปของพระราชบัญญัติต่างๆ บ้าง เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ.1689 พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ ปี 1701 เป็นต้น หรือในรูปของข้อตกลงและขนบธรรมเนียม เช่น การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไม่มีกฎหมายฉบับไหนบ่งบอกให้มีการจัดตั้ง
แต่คณะรัฐมนตรีวิวัฒนาการจากภาคปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมท
ี่ยอมรับกันมาเกือบ 300 ปีแล้ว
รัฐธรรมนูญของอังกฤษ จึงเป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์การเมือง เกิดขึ้นหรือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการร่วมมือ และการขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนาง และกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นปัจจุบันก็ต้องผ่านสงครามปฏิวัต
ิถึง 2 ครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 17 และยังจะต้องมีการปฏิรูปกันขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถึงจะประกฎในรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดังที่ปรากฏ การต่อสู้ดิ้นรนระหว่างขุนนางอังกฤษและมหากษัตริย์ในอดีต เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นของตนเองและต
ามแนวความคิดเชื่อถือตามลัทธิศาสนา แต่ผลของการต่อสู้เรื่องนี้ชักนำให้เกิดระบบการปกครองที่กลายเป
็นพื้นฐานของระบบการปกครองประชาธิปไตยในสมัยต่อมาการปกครองของอ
ังกฤษมิได้มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ในลักษณะที่ชัดเจน
หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law)
หลักการปกครองโดยกฎหมายของอังกฤษ เป็นหลักที่มีความหมาย 3 ประการ คือ
1. ต้องไม่ใช้กำลังปกครอง ต้องใช้กฎหมายปกครอง ประชาชนต้องเคารพกฎหมาย
2. คนอังกฤษถูกปกครองโดยกฎหมายและโดยกฎหมายเท่านั้น การจะลงโทษหรือจับกุมคนอังกฤษโดยปราศจากการไต่สวนตามกระบวนการข
องกฎหมายและโดยไม่มีความผิดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายจะกระทำมิได้
3. อำนาจของพระมหากษัตริย์และรัฐมนตรีนั้นมีต้นกำเนิดมาจากพระราชบ
ัญญัติของรัฐสภา
ทั้งนี้...